Monday, June 24, 2013

วิธีสอนโดยใช้บทเรียนแบบโปรแกรม (Programmed Instruction)

ทิศนา แขมณี (2552: 101-104) เรื่อง 14 วิธีสอนสู่ครูมืออาชีพ

1. ความหมาย 
คือ กระบวนการที่ผู้สอนใช้ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยให้ผู้เรียนศึกษาจากบทเรียนสำเร็จรูปด้วยตนเอง (เนื้อหาถูกแบ่งออกเป็นหน่วยย่อย เพื่อให้ง่ายแก่การเรียนรู้ และผู้เรียนสามารถตอบสนองต่อสิ่งที่เรียน ตรวจสอบการเรียนรู้ของตนเองได้ (Immediate Feedback) ว่าผิดหรือถูก ผู้เรียนสามารถใช้เวลาในการเรียนรู้มากน้อยตามความสามารถ และสามารถตรวจสอบผลการเรียนรู้ของได้ด้วยตนเอง

2. วัตถุประสงค์
มุ่งเน้นให้ผู้เรียนรายบุคคลได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสามารถ ความต้องการและความสนใจของตนเอง

3. องค์ประกอบที่สำคัญ
3.1 บทเรียนแบบโปรแกรม
3.2 ผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เกิดจากบทเรียนแบบโปรแกรม

4. ขั้นตอนการสอน
4.1 ผู้สอนศึกษาปัญหา ความต้องการและความสนใจของผู้เรียน
4.2 ผู้สอนเลือก แสวงหา หรือสร้างบทเรียนแบบโปรแกรมในเรื่องที่ตรงกับปัญหาความต้องการหรือความสนใจของผู้เรียน
4.3 ผู้สอนแนะนำการใช้บทเรียนแบบโปรแกรมให้ผู้เรียนเข้าใจ
4.4 ผู้สอนให้ผู้เรียนศึกษาบทเรียนด้วยตนเอง
4.5 ผู้เรียนทดสอบการเรียนรู้ด้วยตนเอง หรือมารับการทดสอบจากผู้สอน

5. เทคนิคและข้อเสนอแนะต่างๆ ในการใช้วิธีสอนโดยใช้บทเรียนแบบโปรแกรม
5.1 การเตรียมการ
- ผู้สอนศึกษาความต้องการและความสนใจของผู้เรียนรายบุคคล
- บทเรียนแบบโปรแกรมมี 2 ลักษณะ คือ สอนเนื้อหาสาระใดสาระหนึ่ง โดยผู้เรียนๆ ด้วยตนเอง และการสอนซ่อมเสริมการเรียนตามปกติ 
- บทเรียนแบบโปรแกรมจะนำเสนอเนื้อหาทีละน้อย ในรูปของเฟรม (Frame) หลังจากนำเสนอเนื้อหาแล้ว จะมีคำถามทดสอบความรู้ของผู้เรียน 
- บทเรียนแบบโปรแกรมมี 3 ลักษณะ คือ

บทเรียนแบบเส้นตรง (Linear Program) คือ บทเรียนที่นำเสนอเนื้อหาไปตามลำดับ ผู้เรียนจะต้องศึกษาเนื้อหาตามลำดับที่ให้ไว้
บทเรียนแบบสาขา (Branching Program) คือ บทเรียนที่การตอบสนองของผู้เรียนจะมีผลต่อการศึกษาบทเรียนของผู้เรียนแต่ละคน เช่น การเลือกตอบคำถาม ก ข ค ง... ที่แตกต่างกัน ซึ่งบางข้อถูก บางข้อผิด จะส่งผลให้ผู้เรียนต้องศึกษาเนื้อหาเพิ่มเติมแตกต่างกันด้วย ลำดับการเรียนของผู้เรียนแต่ละคนจึงไม่เหมือนกัน



บทเรียนแบบไม่แยกกรอบ เหมือนบทเรียนแบบเส้นตรง แต่ไม่นำเสนอเนื้อหาในรูปของกรอบ แต่จะนำเสนอเนื้อหาเป็นความเรียงต่อกันไปเรื่อยๆ 

- การสร้างบทเรียนฯ ผู้สอนจะต้องวิเคราะห์เนื้อหาที่จะสอนและนำเนื้อหาสาระมาแตกย่อยเรียงลำดับให้เหมาะสม เพื่อง่ายต่อการเรียนรู้ จากนั้นจึงนำเสนอเนื้อหาทีละน้อย มีข้อคำถามท้าทายความคิดและมีเฉลย จากนั้น นำบทเรียนไปทดลองใช้ และปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 

5.2 การดำเนินการ
ผู้เรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน จากนั้น ชี้แจงวิธีการเรียนจากบทเรียน และจึงให้ผู้เรียนศึกษาด้วยตนเอง

5.3 การประเมินผล 
ผู้เรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน และผู้สอนให้คะแนน

6. ข้อดี ข้อจำกัด
6.1 ข้อดี 
- ส่งเสริมให้ศึกษาด้วยตนเอง
- ผู้เรียนเรียนรู้ได้ตามความสามารถของตนเอง ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล
- ลดภาระครู แก้ไขปัญหาการขาดแคลนครู

6.2 ข้อจำกัด 
- ต้องมีบทเรียนที่มีคุณภาพเพียงพอ 
- บทเรียนที่มีคุณภาพต้องใช้เวลาในการผลิต ผู้สร้างต้องมีความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหา และการสร้างบทเรียน
- บทเรียนแบบโปรแกรมที่มีคุณภาพไม่ดีพอจะไม่น่าสนใจและไม่สามารถถึงดูดความสนใจของผู้เรียน ทำให้ผ้เรียนเบื่อหน่ายได้ 
  
  
   




Tuesday, June 4, 2013

ช็อต (Shot) และ ฉาก (Scene)

ซ็อต (Shot) คือ ช่วงเวลาตั้งแต่การเริ่มบันทึกภาพจนกระทั่งการหยุดบันทึกภาพ 1 ครั้ง ถือเป็น 1 ช็อต


ฉาก (Scene) คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ณ สถานที่และช่วงเวลาหนึ่ง ประกอบด้วยช็อตต่างๆ รวมกันเป็น 1 ฉาก

 


Sunday, June 2, 2013

การเคลื่อนกล้อง (Camera Movement) ในการบันทึกภาพวีดิทัศน์

การเคลื่อนกล้อง (Camera Movement) ในการบันทึกภาพวีดิทัศน์ มีดังนี้ 

1. การกรวดภาพในแนวนอน (Pan/ แพน) คือการเคลื่อนกล้องบันทึกภาพในแนวนอนจากซ้ายไปขวา หรือจากขวาไปซ้าย

2. การกราดภาพในแนวตั้ง (Tilt/ ทิวท์) คือ การเคลื่อนกล้องบันทึกภาพในแนวตั้งจากด้านล่างขึ้นบนและจากด้านบนลงล่าง

ขนาดของภาพ (Size of Shot) ในการบันทึกภาพวีดิทัศน์

ในการบันทึกภาพเคลื่อนไหวแต่ละซ็อต (Shot) ผู้บันทึกภาพจะต้องเลือกขนาดของภาพที่เหมาะสมกับเนื้อหาที่ต้องการนำเสนอในภาพนั้นๆ รวมถึงอารมณ์ของภาพที่ต้องการสื่อสารไปยังผู้ชมได้อย่างถูกต้องตามที่ผู้บันทึกภาพต้องการ ขนาดของภาพที่มีการใช้งานกันทั่วไป มีดังนี้

1. ภาพระยะไกลที่สุด (Extreme Long Shot: ELS) ใช้นำเสนอภาพของสภาพแวดล้อม สถานที่ บรรยากาศ บุคคล โดยรวม โดยในภาพอาจมีบุคคลได้ แต่จะไม่สามารถสังเกตุเห็นรายละเอียด สีหน้า อารมณ์ของบุคคลนั้น



2. ภาพระยะไกลมาก (Very Long Shot: VLS) ใช้นำเสนอภาพเพื่อให้ผู้ชมรับรู้ถึงสถานที่และสภาพแวดล้อมเป็นหลักใหญ่ และเห็นบุคคลหรือวัตถุเป็นส่วนประกอบ 

3. ภาพระยะไกล (Long Shot: LS) เป็นขนาดภาพที่เห็นสภาพแวดล้อม รวมถึงวัตถุ บุคคล และเหตุการณ์ต่างๆ ครบถ้วนโดยรวม ถ้าเป็นการบันภาพบุคคล หมายถึง ภาพบุคคลแบบเต็มตัว หรือภาพตั้งแต่หัวจรดปลายเท้า


อ้างอิงภาพจาก http://9barjogleultra.blogspot.com/2011_04_01_archive.html

4. ภาพระยะไกลปานกลาง (Medium Long Shot: MLS) เป็นภาพที่ถ่ายบุคคลตั้งแต่ประมาณหน้าแข้ง หัวเข่าขึ้นไปถึงศีรษะ เพื่อให้เห็นกิริยาอาการของบุคคลนั้นๆ ในขณะที่ยังมองเห็นสภาพแวดล้อมรอบๆ ตัวบุคคลนั้นด้วย


5. ภาพระยะกลาง (Medium Shot: MS) เป็นภาพที่ถ่ายบุคคลตั้งแต่ระดับเอวขึ้นไปถึงศีรษะ ทำให้รับรู้ท่าทางของบุคคลนั้น


6. ภาพระยะใกล้ปานกลาง (Medium Close Up Shot: MCU) เป็นภาพที่ถ่ายบุคคลตั้งแต่ระดับหน้าท้องขึ้นไปถึงศีรษะ ซึ่งจะทำให้เห็นสีหน้าพร้อมๆ กับเห็นบุคลิคลักษณะของบุคคล

7. ภาพระยะไกล้ (Close Up Shot: CU) เป็นภาพที่ถ่ายบุคคล วัตถุ ในระยะใกล้ระดับหน้าอกขึ้นไป เผยให้เห็นรายละเอียดเกี่ยวกับสีหน้า และอารมณ์ของบุคคล

ตัวอย่าง https://www.youtube.com/watch?v=h-_GBmsJ4aU

8. ภาพระยะใกล้มาก (Very Close Up Shot: VCU) เป็นภาพที่ถ่ายบุคคลเฉพาะบริเวณใบหน้า เพื่อให้เห็นใบหน้าของบุคคล สัตว์ หรือวัตถุอย่างชัดเจน รวมถึงเห็นสีหน้า อารมณ์ ความรู้สึกอย่างชัดเจนด้วย

ตัวอย่าง http://youtu.be/DuyeQYQqnhk

9. ภาพระยะใกล้ที่สุด (Extreme Close Up Shot: ECU) เป็นภาพที่บันทึกเฉพาะบางส่วนของใบหน้าบุคคล เช่น ดวงตา

   



มุมกล้อง (Camera Angle) ในการบันทึกภาพวีดิทัศน์

มุมกล้อง (Camera Angle) ที่ใช้ในการบันทึกภาพวีดิทัศน์ สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักๆ ได้แก่

1.1 มุมกล้องระดับสายตา (Eye Level Angle) เป็นมุมกล้องที่ภาพที่ต้องการบันทึก อยู่ในระดับของสายตาของผู้บันทึกภาพ โดยมีระยะระหว่างผู้บันทึกภาพกับภาพขนานกับพื้น 

1.2 มุมกล้องระดับสูง (High Angle) เป็นมุมกล้องที่บันทึกจากมุมสูง หรือจากตำแหน่งที่ผู้บันทึกภาพอยู่สูงกว่าภาพที่ต้องการบันทึก

1.3 มุมกล้องระดับต่ำ (Low Angle) เป็นมุมกล้องที่บันทึกภาพจากมุมต่ำ หรือจากตำแหน่งที่ผู้บันทึกภาพอยู่ตำกว่าภาพที่ต้องการบันทึก

อ้างอิงภาพจาก วีดิทัศน์กิจกรรมการแข่งขันแรลลี่ไม้เท้าขาว 
จัดโดยวิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล 

1.4 มุมเฝ้ามอง (Objective Camera Angle) ภาพวีดิทัศน์ที่ทำให้ผู้ดูเหมือนเป็นบุคคลที่กำลังเฝ้าดูเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่


1.5 มุมแทนสายตา (Subjective Camera Angle) ภาพวีดิทัศน์ที่ทำให้ผู้ดูรู้สึกเหมือนเป็นบุคคลที่อยู่ในเหตุการณ์


1.6 มุมข้ามไหล่ (Over the Shoulder) เป็นการบันทึกภาพวีดิทัศน์การพูดคุยระหว่างบุคคล 2 คน โดยบันทึกข้ามไหล่ของบุคคลหนึ่ง