Monday, June 24, 2013

วิธีสอนโดยใช้บทเรียนแบบโปรแกรม (Programmed Instruction)

ทิศนา แขมณี (2552: 101-104) เรื่อง 14 วิธีสอนสู่ครูมืออาชีพ

1. ความหมาย 
คือ กระบวนการที่ผู้สอนใช้ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยให้ผู้เรียนศึกษาจากบทเรียนสำเร็จรูปด้วยตนเอง (เนื้อหาถูกแบ่งออกเป็นหน่วยย่อย เพื่อให้ง่ายแก่การเรียนรู้ และผู้เรียนสามารถตอบสนองต่อสิ่งที่เรียน ตรวจสอบการเรียนรู้ของตนเองได้ (Immediate Feedback) ว่าผิดหรือถูก ผู้เรียนสามารถใช้เวลาในการเรียนรู้มากน้อยตามความสามารถ และสามารถตรวจสอบผลการเรียนรู้ของได้ด้วยตนเอง

2. วัตถุประสงค์
มุ่งเน้นให้ผู้เรียนรายบุคคลได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสามารถ ความต้องการและความสนใจของตนเอง

3. องค์ประกอบที่สำคัญ
3.1 บทเรียนแบบโปรแกรม
3.2 ผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เกิดจากบทเรียนแบบโปรแกรม

4. ขั้นตอนการสอน
4.1 ผู้สอนศึกษาปัญหา ความต้องการและความสนใจของผู้เรียน
4.2 ผู้สอนเลือก แสวงหา หรือสร้างบทเรียนแบบโปรแกรมในเรื่องที่ตรงกับปัญหาความต้องการหรือความสนใจของผู้เรียน
4.3 ผู้สอนแนะนำการใช้บทเรียนแบบโปรแกรมให้ผู้เรียนเข้าใจ
4.4 ผู้สอนให้ผู้เรียนศึกษาบทเรียนด้วยตนเอง
4.5 ผู้เรียนทดสอบการเรียนรู้ด้วยตนเอง หรือมารับการทดสอบจากผู้สอน

5. เทคนิคและข้อเสนอแนะต่างๆ ในการใช้วิธีสอนโดยใช้บทเรียนแบบโปรแกรม
5.1 การเตรียมการ
- ผู้สอนศึกษาความต้องการและความสนใจของผู้เรียนรายบุคคล
- บทเรียนแบบโปรแกรมมี 2 ลักษณะ คือ สอนเนื้อหาสาระใดสาระหนึ่ง โดยผู้เรียนๆ ด้วยตนเอง และการสอนซ่อมเสริมการเรียนตามปกติ 
- บทเรียนแบบโปรแกรมจะนำเสนอเนื้อหาทีละน้อย ในรูปของเฟรม (Frame) หลังจากนำเสนอเนื้อหาแล้ว จะมีคำถามทดสอบความรู้ของผู้เรียน 
- บทเรียนแบบโปรแกรมมี 3 ลักษณะ คือ

บทเรียนแบบเส้นตรง (Linear Program) คือ บทเรียนที่นำเสนอเนื้อหาไปตามลำดับ ผู้เรียนจะต้องศึกษาเนื้อหาตามลำดับที่ให้ไว้
บทเรียนแบบสาขา (Branching Program) คือ บทเรียนที่การตอบสนองของผู้เรียนจะมีผลต่อการศึกษาบทเรียนของผู้เรียนแต่ละคน เช่น การเลือกตอบคำถาม ก ข ค ง... ที่แตกต่างกัน ซึ่งบางข้อถูก บางข้อผิด จะส่งผลให้ผู้เรียนต้องศึกษาเนื้อหาเพิ่มเติมแตกต่างกันด้วย ลำดับการเรียนของผู้เรียนแต่ละคนจึงไม่เหมือนกัน



บทเรียนแบบไม่แยกกรอบ เหมือนบทเรียนแบบเส้นตรง แต่ไม่นำเสนอเนื้อหาในรูปของกรอบ แต่จะนำเสนอเนื้อหาเป็นความเรียงต่อกันไปเรื่อยๆ 

- การสร้างบทเรียนฯ ผู้สอนจะต้องวิเคราะห์เนื้อหาที่จะสอนและนำเนื้อหาสาระมาแตกย่อยเรียงลำดับให้เหมาะสม เพื่อง่ายต่อการเรียนรู้ จากนั้นจึงนำเสนอเนื้อหาทีละน้อย มีข้อคำถามท้าทายความคิดและมีเฉลย จากนั้น นำบทเรียนไปทดลองใช้ และปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 

5.2 การดำเนินการ
ผู้เรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน จากนั้น ชี้แจงวิธีการเรียนจากบทเรียน และจึงให้ผู้เรียนศึกษาด้วยตนเอง

5.3 การประเมินผล 
ผู้เรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน และผู้สอนให้คะแนน

6. ข้อดี ข้อจำกัด
6.1 ข้อดี 
- ส่งเสริมให้ศึกษาด้วยตนเอง
- ผู้เรียนเรียนรู้ได้ตามความสามารถของตนเอง ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล
- ลดภาระครู แก้ไขปัญหาการขาดแคลนครู

6.2 ข้อจำกัด 
- ต้องมีบทเรียนที่มีคุณภาพเพียงพอ 
- บทเรียนที่มีคุณภาพต้องใช้เวลาในการผลิต ผู้สร้างต้องมีความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหา และการสร้างบทเรียน
- บทเรียนแบบโปรแกรมที่มีคุณภาพไม่ดีพอจะไม่น่าสนใจและไม่สามารถถึงดูดความสนใจของผู้เรียน ทำให้ผ้เรียนเบื่อหน่ายได้ 
  
  
   




Tuesday, June 4, 2013

ช็อต (Shot) และ ฉาก (Scene)

ซ็อต (Shot) คือ ช่วงเวลาตั้งแต่การเริ่มบันทึกภาพจนกระทั่งการหยุดบันทึกภาพ 1 ครั้ง ถือเป็น 1 ช็อต


ฉาก (Scene) คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ณ สถานที่และช่วงเวลาหนึ่ง ประกอบด้วยช็อตต่างๆ รวมกันเป็น 1 ฉาก

 


Sunday, June 2, 2013

การเคลื่อนกล้อง (Camera Movement) ในการบันทึกภาพวีดิทัศน์

การเคลื่อนกล้อง (Camera Movement) ในการบันทึกภาพวีดิทัศน์ มีดังนี้ 

1. การกรวดภาพในแนวนอน (Pan/ แพน) คือการเคลื่อนกล้องบันทึกภาพในแนวนอนจากซ้ายไปขวา หรือจากขวาไปซ้าย

2. การกราดภาพในแนวตั้ง (Tilt/ ทิวท์) คือ การเคลื่อนกล้องบันทึกภาพในแนวตั้งจากด้านล่างขึ้นบนและจากด้านบนลงล่าง

ขนาดของภาพ (Size of Shot) ในการบันทึกภาพวีดิทัศน์

ในการบันทึกภาพเคลื่อนไหวแต่ละซ็อต (Shot) ผู้บันทึกภาพจะต้องเลือกขนาดของภาพที่เหมาะสมกับเนื้อหาที่ต้องการนำเสนอในภาพนั้นๆ รวมถึงอารมณ์ของภาพที่ต้องการสื่อสารไปยังผู้ชมได้อย่างถูกต้องตามที่ผู้บันทึกภาพต้องการ ขนาดของภาพที่มีการใช้งานกันทั่วไป มีดังนี้

1. ภาพระยะไกลที่สุด (Extreme Long Shot: ELS) ใช้นำเสนอภาพของสภาพแวดล้อม สถานที่ บรรยากาศ บุคคล โดยรวม โดยในภาพอาจมีบุคคลได้ แต่จะไม่สามารถสังเกตุเห็นรายละเอียด สีหน้า อารมณ์ของบุคคลนั้น



2. ภาพระยะไกลมาก (Very Long Shot: VLS) ใช้นำเสนอภาพเพื่อให้ผู้ชมรับรู้ถึงสถานที่และสภาพแวดล้อมเป็นหลักใหญ่ และเห็นบุคคลหรือวัตถุเป็นส่วนประกอบ 

3. ภาพระยะไกล (Long Shot: LS) เป็นขนาดภาพที่เห็นสภาพแวดล้อม รวมถึงวัตถุ บุคคล และเหตุการณ์ต่างๆ ครบถ้วนโดยรวม ถ้าเป็นการบันภาพบุคคล หมายถึง ภาพบุคคลแบบเต็มตัว หรือภาพตั้งแต่หัวจรดปลายเท้า


อ้างอิงภาพจาก http://9barjogleultra.blogspot.com/2011_04_01_archive.html

4. ภาพระยะไกลปานกลาง (Medium Long Shot: MLS) เป็นภาพที่ถ่ายบุคคลตั้งแต่ประมาณหน้าแข้ง หัวเข่าขึ้นไปถึงศีรษะ เพื่อให้เห็นกิริยาอาการของบุคคลนั้นๆ ในขณะที่ยังมองเห็นสภาพแวดล้อมรอบๆ ตัวบุคคลนั้นด้วย


5. ภาพระยะกลาง (Medium Shot: MS) เป็นภาพที่ถ่ายบุคคลตั้งแต่ระดับเอวขึ้นไปถึงศีรษะ ทำให้รับรู้ท่าทางของบุคคลนั้น


6. ภาพระยะใกล้ปานกลาง (Medium Close Up Shot: MCU) เป็นภาพที่ถ่ายบุคคลตั้งแต่ระดับหน้าท้องขึ้นไปถึงศีรษะ ซึ่งจะทำให้เห็นสีหน้าพร้อมๆ กับเห็นบุคลิคลักษณะของบุคคล

7. ภาพระยะไกล้ (Close Up Shot: CU) เป็นภาพที่ถ่ายบุคคล วัตถุ ในระยะใกล้ระดับหน้าอกขึ้นไป เผยให้เห็นรายละเอียดเกี่ยวกับสีหน้า และอารมณ์ของบุคคล

ตัวอย่าง https://www.youtube.com/watch?v=h-_GBmsJ4aU

8. ภาพระยะใกล้มาก (Very Close Up Shot: VCU) เป็นภาพที่ถ่ายบุคคลเฉพาะบริเวณใบหน้า เพื่อให้เห็นใบหน้าของบุคคล สัตว์ หรือวัตถุอย่างชัดเจน รวมถึงเห็นสีหน้า อารมณ์ ความรู้สึกอย่างชัดเจนด้วย

ตัวอย่าง http://youtu.be/DuyeQYQqnhk

9. ภาพระยะใกล้ที่สุด (Extreme Close Up Shot: ECU) เป็นภาพที่บันทึกเฉพาะบางส่วนของใบหน้าบุคคล เช่น ดวงตา

   



มุมกล้อง (Camera Angle) ในการบันทึกภาพวีดิทัศน์

มุมกล้อง (Camera Angle) ที่ใช้ในการบันทึกภาพวีดิทัศน์ สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักๆ ได้แก่

1.1 มุมกล้องระดับสายตา (Eye Level Angle) เป็นมุมกล้องที่ภาพที่ต้องการบันทึก อยู่ในระดับของสายตาของผู้บันทึกภาพ โดยมีระยะระหว่างผู้บันทึกภาพกับภาพขนานกับพื้น 

1.2 มุมกล้องระดับสูง (High Angle) เป็นมุมกล้องที่บันทึกจากมุมสูง หรือจากตำแหน่งที่ผู้บันทึกภาพอยู่สูงกว่าภาพที่ต้องการบันทึก

1.3 มุมกล้องระดับต่ำ (Low Angle) เป็นมุมกล้องที่บันทึกภาพจากมุมต่ำ หรือจากตำแหน่งที่ผู้บันทึกภาพอยู่ตำกว่าภาพที่ต้องการบันทึก

อ้างอิงภาพจาก วีดิทัศน์กิจกรรมการแข่งขันแรลลี่ไม้เท้าขาว 
จัดโดยวิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล 

1.4 มุมเฝ้ามอง (Objective Camera Angle) ภาพวีดิทัศน์ที่ทำให้ผู้ดูเหมือนเป็นบุคคลที่กำลังเฝ้าดูเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่


1.5 มุมแทนสายตา (Subjective Camera Angle) ภาพวีดิทัศน์ที่ทำให้ผู้ดูรู้สึกเหมือนเป็นบุคคลที่อยู่ในเหตุการณ์


1.6 มุมข้ามไหล่ (Over the Shoulder) เป็นการบันทึกภาพวีดิทัศน์การพูดคุยระหว่างบุคคล 2 คน โดยบันทึกข้ามไหล่ของบุคคลหนึ่ง   


Friday, June 22, 2012

การทำ Hyperlink ใน PowerPoint 2010

ถ้านักศึกษาต้องการเชื่อมโยง (Hyperlink) ภาพใน PowerPoint ไปที่เว็บไซต์ที่ต้องการหรือไปที่เอกสารต่างๆ สามารถทำได้ ดังนี้


1. เข้าเว็บไซต์ที่ต้องการ เช่น Youtube.com กดปุ่ม Prt Sc (มุมขวาบนของคีย์บอร์ด)

2. มาที่โปรแกรม PowerPoint คลิกขวา

3. กดปุ่ม Paste

4. คลิก 1 ครั้งที่ภาพเว็บไซต์ -- > เมนู Insert -- > Hyperlink

5. ที่หน้าต่าง Edit Hyperlink คลิกปุ่ม Browsed Pages -- > พิมพ์ชื่อเว็บไซต์ที่ช่อง Address -- > กด OK

6. กดปุ่ม Slide Show ของ PowerPoint จะสังเกตุเห็นเมาส์เปลี่ยนเป็นรูปมือ และมีชื่อเว็บไซต์ลอยอยู่

7. เมื่อคลิก 1 ครั้งที่ภาพ จะเปลี่ยนไปที่หน้าเว็บไซต์ที่ต้องการ

8. กรณีที่สอง ถ้าต้องการเชื่อมโยง (Hyperlink) ไปที่ไฟล์เอกสาร (.doc) ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ให้พิมพ์ชื่อไฟล์ที่ต้องการเชื่อมโยง

9. ทำกรอบสี่เหลี่ยมที่ข้อความ -- > Insert -- > Hyperlink

10. คลิกปุ่ม Current Folder ค้าหาไฟล์ที่ต้องการบริเวณด้านขวา

11. คลิกเลือกไฟล์ที่ต้องการ ชื่อไฟล์จะปรากฎที่ช่อง Address ด้านล่าง กดปุ่ม OK

12. กดปุ่ม Slide Show เมื่อเลื่อนเมาส์ไปที่ข้อความ จะเปลี่ยนเป็นรูปมือ และมีรายชื่อไฟล์ลอยอยู่ คลิกเมาส์ 1 ครั้ง 

13. ไฟล์เอกสารที่กำหนดจะปรากฎขึ้น 

การทำ Hyperlink จะมีประโยชน์ในกรณีนำเสนองานใน PowerPoint แล้วต้องการอ้างอิงข้อมูลเพิ่มเติมในเว็บไซต์หรือในเอกสารที่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ 

Thursday, May 3, 2012

การเขียนสูตรและภาพเศษส่วนในโปรแกรม Word 2010

หากนักศึกษาเรียนวิชา คณิตศาสตร์ เรื่องสูตร และจำเป็นต้องเขียนสูตรใน Microsoft Word 2010 รวมทั้งออกแบบภาพเศษส่วน เพื่อแสดงภาพให้เกิดความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ดังตัวอย่างด้านล่าง สามารถทำได้ ดังนี้



1. เปิดโปรแกรม Word --> Insert --> Equation --> Insert New Equation

2. เลือก Fraction --> Stacked Fraction

3. ใส่ตัวเลขเศษและส่วนในช่องสี่เหลี่ยมทั้งด้านบนและด้านล่่าง

4. เลื่อนเคอร์เซอร์ (l) ไปด้านขวา ค้นหาเครื่องหมาย + หรือพิมพ์โดยใช้ปุ่มคีย์บอร์ด

5. เลือก Fraction เพื่อใส่เศษส่วนชุดที่ 2

6. ค้นหาเครื่องหมายเท่ากับ (=) ใน Symbols หรือพิมพ์โดยใช้คีย์บอร์ด

7. ใช้ Fraction เพื่อใส่เศษส่วนชุดที่ 3

8. ใส่เครื่องหมาย + และเลข 2 ในเศษ

9. ใส่เลข 5 ที่ส่วน

10. เมื่อพิมพ์สูตรเสร็จแล้ว ให้คลิกขวา เลือก Change to Inline เพื่อเปลี่ยนให้สูตรไปอยู่ในบรรทัด

11. สูตรที่ทำเสร็จแล้ว

12. ถ้าต้องการทำภาพเศษส่วน สามารถทำได้หลายวิธี วิธีหนึ่งที่สะดวก คือ การใช้เมนู Chart โดยให้เลือก Insert --> Chart

13. เลือกแผนภูมิวงกลม (Pie) เลือกรูปแบบที่ต้องการ กด OK

14. ภาพจะมี 2 จอ ซ้ายและขวา 

15. ให้ใส่สัดส่วนที่ต้องการไปที่หน้าต่าง Excel ด้านขวา

16. เมื่อใส่ตัวเลขเสร็จ คลิกปุ่มปิดโปรแกรม Excel และปรับภาพสัดส่วนตามต้องการ โดยคลิกที่ข้อมูลที่ไม่ต้องการ และกดปุ่ม Delete

17. ปรับภาพเศษส่วนให้เคลื่อนย้ายได้อย่างอิสระโดยคลิกขวาที่ภาพ เลือก Wrap Text --> In Front of Text

18. นำเส้นขอบภาพออกโดยคลิกวขวา เลือก Format Chart Area 

19. เลือก Border Color --> No Line --> Close

20. ภาพสูตรและภาพแสดงเศษส่วนที่เสร็จสมบูรณ์